•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ Docyst และ cyst ของพยาธิลําไส้ของสุกร ในเขตจังหวัดนครปฐม โดยวิธี โดยวิธี Modified Sheather's Sugar Floatation Technique และวิธี Sedimentation โดยแบ่งออกตามอายุสู่กรพบว่า ในลูกสุกรที่ยังไม่หย่านม Ascaris suum 4.08% Trichuris. suis 6.12%, Strongylates 6.12%, Strongyloides ransomi 34.69%, Coccidia 18.37%, และ Balantidium coli 22.45% ในสุกรขุน Ascaris suum 31.15%, Trichuris suis 35.52%, Strongylates 32.24%, Strongyloides ransomi 31.15%, Metastrongylus spp. 0.55%, Coccidia 35.52%, Balantidium coli 37.70% และ Trichomonad 0.55%, ในสุกรใช้ทําพันธุ์พบ Ascaris suum 9.69%, Trichuris suis 4.39%, Strongylates 68.42%, Intestinal flukes 12.48%, Coccidia 38.60%, Balantidium coli 42.98%, and Trichomonad 0.88% ซึ่งการที่มีความแตกต่างกันนี้คงจะเนื่องจากภูมิคุ้มกันของสุกรต่อพยาธิชนิดต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน การตรวจทางเดินอาหารของสุกรอายุ 1-8 สัปดาห์ เพื่อหาตัวพยาธิพบ Ascaris suum 2.44%, Strongyloides ransomi 67.07%, Trichuris suis 39.02%, Oesophagostomum spp. 40.24%, and Globocephalus spp. 2.44%, ซึ่งผลที่ได้จะแน่นอนกว่าการตรวจจากอุจจาระ จากผลของการทดลองควบคุมพยาธิ Strongyloides ransomi ในลูก สุกรที่ยังไม่หย่านม จำนวน 132 ตัวใน 15 ครอก ซึ่งคาดว่าจะติดพยาธิโดยการกินตัว อ่อนของพยาธิจากน้ำนมของแม่ ลูกสุกร ในแต่ละครอกถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จำนวน เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน กลุ่มหนึ่งให้ยา thiabendazole ขนาด 100 มก. ต่อน้ำหนัก ตัว 1 กก. ครั้งเดียวเมื่อลูกสุกรอายุ 3-9 วัน อีกกลุ่มไม่ได้ให้ยา ปรากฏว่าลูกสุกรทั้ง 2 กลุ่มมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 0.89 กก. ต่อสัปดาห์เท่ากันซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ

DOI

10.56808/2985-1130.1166

First Page

139

Last Page

153

Share

COinS