The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิสูจน์โรค Aujeszky's Disease สุกรซึ่งเกิดระบาดขึ้นเป็นจำนวน 6 ครั้ง โดยใช้การพิสูจน์โรคหลายวิธี และพบว่าวิธี ฟลูออเรสเซนท์แอนติบอดี้เทสท์จาก impression smears ของสมองและ cryostat sections จากทอนซีลให้ผลรวดเร็วและมีความแม่นยําสูง เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่เกิด โรคระบาด เพราะสามารถนำผลไปใช้ในการวางแผนป้องกัน และควบคุมโรคได้ทันท่วงที การศึกษาจุลพยาธิวิทยาของสมอง ทอนซิลและอวัยวะอื่น ๆ ของลูกสุกรป่วย และ การฉีดเชื้อไวรัสเข้าใต้ผิวหนังกระต่าย ถึงแม้จะใช้เวลาในการปฏิบัติมากกว่าแต่เป็น การปฏิบัติที่ได้ผลและเป็นการสนับสนุนผลทางฟลูออเรสเซนท์แอนติบอดี้เทสท์ได้เป็นอย่าง ดี ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าลูกสุกรป่วย (อายุ 3-15 วัน) จำนวน 21 ใน 22 ตัว จาก การระบาดทั้ง 6 ครั้งมีการอักเสบของสมองแบบ non-suppurative encephalitis และพบ Cowdry type A intranuclear inclusion bodies ในเซลล์ประสาท และ glial cells ด้วย และพบหย่อมเนื้อตาย (focal necrosis) ที่ตับ ปอด ต่อมน้ําเหลือง ม้าม ทอนซิล ซึ่งหย่อมเนื้อตายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ intranuclear inclusion bodies ในการฉีดเชื้อไวรัสเข้ากระต่าย จะเกิดอาการคันมาก (intense pruritus) หลังจากฉีด 2-4 วัน อาการป่วยที่สำคัญของสุกรที่เป็นโรคนี้จาก ทั้ง 6 ครั้งคืออาการทางประสาท อาการทางระบบหายใจ และพบว่าสุกรที่กำลังท้อง มีอัตราการแท้งสูงในช่วงเวลาที่มีการระบาด
DOI
10.56808/2985-1130.1158
First Page
102
Last Page
118
Recommended Citation
สัญญสุจจารี, บุญมี; กองสมัคร, สละ; and อาจทรงคุณ, พิเคราะห์
(1980)
"การระบาดของโรค AUJESZKY'S DISEASE ในสุกร (RECENT OUTBREAKS OF AUJESZKY'S DISEASE IN PIGS WITH PARTICULAR REFERENCE TO LABORATORY DIAGNOSIS OF CLINICAL CASES),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 10:
Iss.
2, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1158
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol10/iss2/1