Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
1997-01-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนและการใช้ การประชุมปรึกษาของอาจารย์พยาบาลในการสอนในคลินิก ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาจารย์ พยาบาลที่ทำการสอนในคลินิก จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสังเกต พฤติกรรมการสอนและแบบสัมภาษณ์การใช้ การประชุมปรึกษาของอาจารย์พยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้าง ขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ความเที่ยงของแบบสังเกต เท่ากับ 0.92 \nผลการวิจัยพบว่า \n1. อาจารย์พยาบาลมีพฤติกรรมการสอนในการประชุมปรึกษาจํานวนมากที่สุดในเรื่อง พฤติกรรมส่วนบุคคล ในการสร้างบรรยากาศที่ดี รองลงมาได้แก่ ด้านการกระตุ้นให้นักศึกษามี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ด้านการเสนอความรู้ และแนวคิดต่าง ๆ ด้านการประเมินผลและ ป้อนข้อมูลย้อนกลับ และด้านการเสริมแรงเพิ่มแรงจูงใจ ตามลำดับ \n2. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. อาจารย์พยาบาลใช้การประชุมปรึกษา โดยจัดกลุ่มนักศึกษากลุ่มย่อย 5-10 คน การ ประชุมปรึกษาก่อนปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมที่จะปฏิบัติ จำแนกปัญหา ของผู้ป่วยวางแผนการพยาบาล ตรวจสอบความรู้นักศึกษา และแจ้งจุดมุ่งหมายในการเรียน เวลาที่ใช้ คือ 20-30 นาที สำหรับการประชุมปรึกษาหลังปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลงานที่ ปฏิบัติอภิปรายปัญหาที่เกิดขึ้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางคลินิกและทบทวนความรู้ทางด้านวิชาการ เวลาที่ใช้มากกว่า 45 นาที สถานที่มักจัดคือในห้องประชุมหรือห้องสอนแสดง และรูปแบบการ ประชุมปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการใช้การอภิปราย
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.9.1-3.6
First Page
48
Last Page
63
Recommended Citation
เจนพานิชย์, พูลสุข and ยูนิพันธุ์, จินตนา
(1997)
"พฤติกรรมการสอนแบบการประชุมปรึกษา ในคลินิกของอาจารย์พยาบาล,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 9:
Iss.
0, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.9.1-3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol9/iss0/6