•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

1996-01-01

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคม ระหว่างพยาบาลที่มีสถานภาพการสมรส ช่วงอายุ ระดับการศึกษาทางการพยาบาล ประสบการณ์ทางการพยาบาล สถานภาพทางเศรษฐกิจ ตามที่ พยาบาลรับรู้ หอผู้ป่วยที่สังกัดและประสบการณ์การเพิ่มพูนความรู้ด้านการพยาบาลจิตสังคม ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่สามัญของ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายร้อยละ 75 ของประชากร มีจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการ ปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแอลฟาของครอนบาช (Cronbach's Alpha-Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.8502 และมีค่าอํานาจจําแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 2.7425 - 7.2767 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม สําเร็จรูปเอส พีเอสเอส พีซีพลัส (SPSS/PC) สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐานและเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่า t กรณีเปรียบเทียบ 2 กลุ่มตัวอย่าง และใช้ ANOVA พร้อมตรวจสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ S method กรณีเปรียบเทียบมากกว่า 2 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาในการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากที่สุดซึ่งเป็นปัญหาในระดับมาก เรื่อง "ทีมสุขภาพส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับ การปฏิบัติการพยาบาลด้านร่างกายเป็นหลัก ทำให้การพยาบาลจิตสังคมถูกละเลยไป" ปัญหารองลงมา ซึ่งเป็นปัญหาในระดับปานกลาง คือ "มีภาระงานอื่นมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการพยาบาลด้านจิตสังคม โดยพบว่า ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมมากกว่าปัญหา ที่เกิดจากตัวพยาบาลเอง (X 1.520, SD 0.870, และ X 1.343, SD 0.837 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบค่าเฉลี่ยของคะแนนปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมระหว่างกลุ่มตัวอย่าง ที่มีสถานภาพการสมรส ช่วงอายุ ระดับการศึกษาทางการพยาบาล ประสบการณ์ทางการพยาบาล สถานภาพทางเศรษฐกิจตามการรับรู้ของพยาบาลหอผู้ป่วยที่สังกัดและประสบการณ์การเพิ่มพูนความรู้ ด้านการพยาบาลจิตสังคมที่แตกต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.8.1-3.8

First Page

69

Last Page

81

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.