Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
1996-01-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการประเมินผล การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนำเข้าของระบบ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ของระบบกลุ่มตัวอย่างคือ แบบฟอร์มการ - ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการทุกชุดที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จํานวน 201 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์ แบบฟอร์มการประเมินผล และแบบสอบถามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 1 เท่ากับ 87 วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และการทดสอบไคว์-สแคว์ \nผลการวิจัยพบว่า \n1. โรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานครทุกสังกัดมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการส่วนใหญ่คือ หัวหน้าผู้ป่วย (97.5) แบบฟอร์มการประเมินผลที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แบบคุณลักษณะและประสิทธิผล (50%) รองลงมา คือแบบพฤติกรรม (38.5%) วิธีการประเมินผลที่ปรากฏในแบบฟอร์มการประเมินคือ การพิจารณา 2. ตามเครื่องมือวัด (75%) ที่เหลือเป็นการให้คะแนนดิบ แบบฟอร์มการประเมินผลมีส่วนประกอบ \nของแบบฟอร์มไม่ครบทั้ง 5 ส่วน โดยมีส่วนของสรุปผลการประเมินมากที่สุด (75%) \n2. กระบวนการการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่า มีกระบวนการการประเมินผล การปฏิบัติงานครบทั้ง 5 องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินส่วนใหญ่ เพื่อเป็นข้อมูล ป้อนกลับให้พยาบาลประจําการ (81.1) หัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวิธีการรวบรวมข้อมูลการ ปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการคือ สังเกตการทำงานแล้วจดบันทึก (88%) ส่วนใหญ่หัวหน้าหอผู้ป่วยจะแจ้งและอภิปรายผลการประเมินกับพยาบาลประจำการเป็นรายบุคคล (79.7%) การนำผลการประเมินไปใช้ส่วนใหญ่คือ เป็นหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พยาบาลประจําการ (77.6%) รองลงมาคือ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลื่อนตำแหน่ง (66.1) \n3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในด้านการรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติงาน และด้านการแจ้งและอภิปรายผลการประเมินในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพ มหานคร จำแนกตามสังกัดพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.8.1-3.10
First Page
103
Last Page
109
Recommended Citation
สุขน้อย, วิริยา; ยูนิพันธุ์, จินตนา; and ลือบุญธวัชชัย, อรพรรณ
(1996)
"การวิเคราะห์ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 8:
Iss.
0, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.8.1-3.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol8/iss0/10