Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2019-09-01
Abstract
Purpose: 1) To study the physical functional ability of stroke older persons and 2) To study relationships between gender, age, depression, social support, cognition, and physical functional ability of stroke older persons.Research Design: Descriptive correlational researchMethodology: The participants were 121 men and women with stroke, aged over 60, who visited the out-patient department of the 2 tertiary hospitals. They came from purposive sampling. The questionnaire was applied to collect data. The instruments were the demographic questionnaire, Social supports assessment, Thai Geriatric Depression Scale, cognition assessment using MMSE-Thai 2002, and Barthel ADL Index. The content validity is .92 and the reliability is .71, .80, .83, .93, respectively. Data were analyzed by descriptive statistic, Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient and Chi-square test.Result: 1) The overall physical functional ability of stroke older persons for self-care is at a good level ( = 16.56, SD. = 4.11) 2). Age and depression were significantly negative correlation with physical functional ability among stroke older persons at the level of .05. (r=-.399, r=-.337). 3) The cognition was significantly positive correlation with physical functional ability among stroke older persons at the level of .05 (r= .348) 4) Gender was significantly correlation with physical functional ability among stroke older persons at the level of .05, and 5) Social supports have no correlation with physical functional ability among stroke older persons.Conclusion: The older of age affects the degradation of physical functional ability while the physical functional ability of men is better than women. Therefore, to give appropriate care for age and gender, the screening of depression and cognition will also help the physical functional ability of stroke older persons to work better.(วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการรู้คิด กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชายโรค หลอดเลือดสมอง ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 121 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลโดยใช้การตอบแบบ สอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุน ทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินการรู้คิดโดยใช้ MMSE-Thai 2002 และแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย โดยใช้ Barthel ADL Index ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .92 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .71, .80, .83 และ .91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติไคสแควร์ผลการวิจัย: 1) การทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมได้มาก ( = 16.56, SD. = 4.11) 2) อายุและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =-.399, r = -.337 ตามลำดับ) 3) การรู้คิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .348) 4) เพศมีความสัมพันธ์กับ การทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองสรุป: อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลต่อการทำหน้าที่ด้านร่างกายที่ลดลง โดยในเพศชายมีการทำหน้าที่ด้าน ร่างกายได้ดีกว่าเพศหญิง ดังนั้น การให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับช่วงอายุและเพศ โดยมีการคัดกรอง ภาวะซึมเศร้าและการรู้คิด จะช่วยให้ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีการทำหน้าที่ด้านร่างกายที่ดียิ่งขึ้น)
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.31.3.8
First Page
87
Last Page
100
Recommended Citation
Maneechot, Boontarika and Sasat, Siriphan
(2019)
"Selected Factors Related to Physical Functional Abilityamong Stroke Older Persons(ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 31:
Iss.
3, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.31.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol31/iss3/8