•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2019-09-01

Abstract

Purpose: 1) to compare autistic symptoms among autistic preschoolers before and after using the enhancing family caregiving ability program, and 2) to compare autistic symptoms among autistic preschoolers using the enhancing family caregiving ability program and those received usual nursing care.Design: Quasi-experimental research Methods: Research sample consisted of forty Autistic children, aged 3-6 and family receiving services in the outpatient clinic of Yuwaprasartwaithayopathum hospital, selected by inclusion criteria, were matched pair by sex of autistic children and type of medicine which autistic children received in the same type, then, equally randomly assigned to an experimental group and a control group with 20 subjects in each group. The experimental group received the enhancing family caregiving ability program for 4 weeks. The control group received usual nursing care. The experimental instruments included the Enhancing Family Cargiving Abilty Program and the autism caring manual for family. Data were collected using the autistic symptoms assessment scale and the empowerment assessment scale. Its CVI were .92 and .80, respectively. Their Cronbach's alpha coefficients were .96 and .89, respectively. The t-test was used in data analysis.Findings: 1) The mean score of autistic symptoms after using the enhancing family caregiving program was significantly lower than those before, at the .01 level. 2) The mean score of autistic symptoms who received the enhancing family caregiving program was significantly decreased more than such mean score of autistic children who received usual nursing care, at the .01 level.Conclusion: The result of this study support that the enhancing family caregiving program can reduce the autistic symptom among autistic preschoolers.(วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว และเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อน เรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่ออทิสติกอายุ 3-6 ปี และครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (Matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คู่ กลุ่มทดลองได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว และคู่มือการดูแลเด็กออทิสติก สำหรับครอบครัว เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิซึม และแบบประเมินพลังอำนาจ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .92 และ .80 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .96 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย 1) คะแนนเฉลี่ยอาการออทิสติกของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) คะแนนเฉลี่ย อาการออทิสติกของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุป: การใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวสามารถทำให้อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนลดลงได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.3.7

First Page

74

Last Page

86

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.