Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2019-05-01
Abstract
Purpose: To study the health-related quality of life (HR-QOL) in women with polycystic ovary syndrome (PCOS).Design: Descriptive researchMethods: Descriptive research was designed and conducted with 157 women with PCOS, aged 18-44 years, who received treatment at the out-patient departments of Gynecology at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Siriraj Hospital and Rajavithi Hospital, and all of them were selected by using multi-stage sampling technique. Data were collected using a personal characteristic form and the HR-QOL questionnaire whose content validity was examined by 5 experts and their Cornbrash's alpha coefficients was at .88. The data were analyzed later using frequency, percentage, mean and standard deviation.Findings: The majority of women with PCOS had HR-QOL scored at a good level (Mean = 3.87, SD = 0.52). Domains analysis showed the domain scores at an excellent level includes role limitations due to physical problems (Mean = 4.38, SD = 0.69) and due to emotional problems (Mean = 4.39, SD = 0.75). Meanwhile, the domain scores at a good level includes physical functioning (Mean = 4.20, SD = 0.81), body pain (Mean = 3.90, SD = 0.76), social functioning (Mean = 4.20, SD = 0.70) and general mental health (Mean = 3.53, SD = 0.69). The domain scores at a moderate level were vitality (energy/fatigue) (Mean = 2.87, SD = 0.86) and general health perceptions (Mean = 3.18, SD = 0.90).Conclusion: Nurses should assess the health-related quality of life in women with PCOS in order to enable themselves to efficiently plan for better improving the health-related quality of life of this woman group along with treatment from other health team providers.(วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน�้ารังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome : PCOS)รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ วัยผู้ใหญ่ อายุ 18-44 ปี จำนวน 157 คน มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกนรีเวชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลราชวิถี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและนำไปทดสอบหาค่าความเที่ยง มีค่าเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.87, SD. = 0.52) เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ ด้านบทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากปัญหาทางด้านร่างกาย (Mean = 4.38, SD. = 0.69 และ )และด้านบทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องมาจากปัญหาทางด้านอารมณ์ (Mean = 4.39, SD. = 0.75) ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านความสามารถในการทำหน้าที่ด้านร่างกาย (Mean = 4.20, SD. = 0.81) ด้านความเจ็บปวดของร่างกาย (Mean = 3.90, SD. = 0.76) ด้านบทบาททางสังคม (Mean = 4.20, SD. = 0.70) และ ด้านสุขภาพจิตทั่วไป (Mean = 3.53, SD. = 0.69) ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความกระฉับกระเฉง (Mean = 2.87, SD. = 0.86) และด้านการรับรู้สุขภาพทั่วไป (Mean = 3.18, SD. = 0.90) สรุป: พยาบาลควรมีการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เพื่อการวางแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของสตรีกลุ่มนี้ร่วมกับการดูแลรักษาของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น)
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.31.2.9
First Page
98
Last Page
111
Recommended Citation
Theerawut, Wiraporn and Naweecharoen, Rungrawee
(2019)
"Health-related Quality of Life in Women with Polycystic Ovary Syndrome(คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 31:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.31.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol31/iss2/9