Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2019-05-01
Abstract
Purpose: To describe the lived experiences of a son being the caregiver for dependent elderly parents.Design: The phenomenological research methodology was employed based on the concept of Heidegger.Methods: The participants were sons with experience as the caregiver for dependent elderly in Bangkok. Data were collected using interview guidelines with in-depth interview. Data were analyzed by using Van Manen's method and audio recording and until saturated data with the 12 informants.Findings: The lived experiences of the son being caregiver for dependent elderly parents were categorized into 5 main aspects: 1) Changes in life. It is a way of life-changing working style. There are limits to social and personal time. 2) Caregiver must adjust the mind, and accept the role of the caregiver. Be optimistic and eliminate bad moods. Understand and accept signs of disease. 3) Caring that can be provided by both men and women. Son caregivers can adjust as basic care is not difficult and men are strong in physical support when taking care. The son does not do a great job but is caring if taking care of both men and women. 4) Learn how to care. The first phase is feeling not confident in the care, so the caregiver must learn to adjust the care plan, and ask for help from other people. 5) Happiness and suffering of being a caretaker. Happiness is to be happy and pride in providing care, expressing gratitude to parents and receiving praise. The suffering from fatigue and stress caused by providing care and worrying about increased expenses.Conclusion: This research. Taken as a basic to promote health care personnel to the son of parents who care for dependent elderly patients to be confident and approach to care appropriately.(วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ บุตรชายที่มีประสบการณ์ในการดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Van Manen ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 รายผลการวิจัย: ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องปรับสมดุลการทำงานเข้ากับการดูแล มีข้อจำกัดในการเข้าสังคมและเวลาส่วนตัวมากขึ้น 2) ปรับตัว ปรับใจ ยอมรับบทบาทการเป็นผู้ดูแล โดยการมองโลกในแง่บวก ขจัดอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ เข้าใจและยอมรับอาการแสดงของโรค 3) การดูแลที่ทำได้ทั้งชายหญิง คือ เมื่อปรับตัวได้ การดูแลไม่ยาก และบุตรชายมีความแข็งแรงในการอุ้มพยุง แม้ไม่ถนัดงานละเอียดแต่สามารถดูแลได้ เพราะถ้าใส่ใจดูแลได้ทั้งชายหญิง 4) เรียนรู้วิธีการดูแล เนื่องจากช่วงแรกไม่มั่นใจในการดูแล จึงต้องวางแผน ปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลให้เหมาะสม และขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น 5) ความสุข ความทุกข์จากการเป็นผู้ดูแล ความสุข คือ การมีความสุข ภาคภูมิใจที่ได้ดูแลและตอบแทนบุญคุณบุพการี การได้รับคำชื่นชม ความทุกข์ คือ เหนื่อยและเครียดจากการดูแล กังวลค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสรุป: ผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรทางสุขภาพ ส่งเสริม สนับสนุนบุตรชายผู้ดูแล ให้มีความมั่นใจและปฎิบัติการดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิงได้อย่างเหมาะสม)
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.31.2.7
First Page
72
Last Page
84
Recommended Citation
Srisuk, Angkana and Kespichayawattana, Jiraporn
(2019)
"Lived Experiences of Sons Being Caregiver for Dependent Elderly Parents(ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 31:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.31.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol31/iss2/7