Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2019-05-01
Abstract
Purposes: to compare aggressive behaviors of children with ADHD before and after using the group experiential learning for parents program and to compare aggressive behavior of children with ADHD using the group experiential learning for parents program and those who received regular caring activities.Design: Quasi-experimental researchMethods: Forty children with ADHD receiving services in outpatient department Rajanukul Institute, who met the inclusion criteria, were paired up and then randomly assigned to experimental group and control group; 20 subjects in each group. The experimental group received the group experiential learning for parents program for 6 weeks whereas the control group received regular nursing care. Research instruments were: 1) The personal data questionnaire, 2) The aggressive behaviors assessment scale and 3) The group experiential learning for parents program of children with ADHD. All instruments were content validated by a panel of 5 experts. The Content Validity Index of the aggressive behavior scale was .93 and The Nonparametric statistics was used in data analysis.Findings: 1) Aggressive behaviors of children with ADHD after using the group experiential learning for parents program was significantly less than that of before the treatment, at the .05 level. 2) Aggressive behaviors of children with ADHD received the group experiential learning for parents program was significantly less than those received regular nursing care, at the .05 level.Conclusion: The results of this study lead to the recommendation for the use of the group experiential learning for parents program to decrease aggressive behavior.(วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นก่อนและหลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กสมาธิสั้น และบิดาหรือมารดาเด็กสมาธิสั้น ที่มารับบริการที่งานพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกุล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้นและบิดาหรือมารดา 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น 3) โปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัย: พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุป: การใช้ปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาส่งผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้นลดลง)
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.31.2.3
First Page
23
Last Page
34
Recommended Citation
Saboonma, Jirapan; Rodcumdee, Branom; and Suktrakul, Sunisa
(2019)
"The Effect of Group Experiential Learning for Parents on Aggressive Behaviors of Children with Attention - Deficit /Hyperactivity Disorder(ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 31:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.31.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol31/iss2/3