Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2019-05-01
Abstract
Purpose: To study the effect of the coaching program in health behaviors modification of persons with pre-diabetes.Design: Quasi-experimental researchMethods: The subjects were 60 persons with prediabetes in out-patient clinic, Medicine Department of Phrachomklao hospital, Phetchaburi province. Thirty persons with prediabetes per group were matched by sex, age and use of Metformin. The control group received the normal nursing care whereas the experimental group received the coaching program in health behaviors modification. The research instrument were the coaching program in health behaviors modification based on the concept of Haas (1992), The data were collected by demographic data, HbA1C level and health behaviors modification of pre-diabetes patient questionnaire. The content validity was .90 and reliability was .71. Percentage, mean, standard deviation and t-test were used to analyze the dataFindings: 1) The mean of HbA1C level of pre-diabetes persons after receiving the coaching program in health behaviors modification was significantly lower than before receiving the program at the significance level of .052)The mean of HbA1C level of pre-diabetes persons after receiving the coaching program in health behaviors modification was significantly lower than the control group at the significance level of .05Conclusion: The coaching program in health behaviors modificationhas been shown to be effective for decreasing HbA1c level of persons with pre-diabetes.(วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานจำนวน 60 ราย ซึ่งมารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย จับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และการใช้ยาเมทฟอมิน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แนวคิดการสอนแนะของ Hass (1992) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และแบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.9 และมีค่าความเที่ยง 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่งเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติทีผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุป: โปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำให้ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานลดลงได้)
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.31.2.2
First Page
10
Last Page
22
Recommended Citation
Sirikunwiwat, Jintipa and Navicharern, Rungrawee
(2019)
"The Effect of The Coaching Program in Health Behaviors Modification on HbA1C of Persons with Pre-diabetes(ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 31:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.31.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol31/iss2/2