•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2019-01-01

Abstract

Purpose: 1) To study of the self-practice before undergoing to colonoscopy among persons with colorectal cancer risk who received the health teaching program and 2) compare the self-practice before undergoing to colonoscopy among persons with colorectal cancer risk who received the health teaching program and those who received conventional nursing care.Design: Quasi-experimental research, posttest only design.Method: The samples group is persons with colorectal cancer risk in the range of age between 18-59 years old who was undergoing colonoscopy at Surin provincial hospital, Thailand. The sample were consisted of 44 patients and assigned to the experimental and control group (22 persons for each group).They were matched by gender,age and education level. The experimental group received the health teaching program that was created by Alice while the control group received conventional nursing care. Data were collected by 1) the demographic data form, 2) Self-practice questionnaire before underwent colonoscopy.The Kuder Richardson's reliability index was 0.80. Data were analyzed using descriptive statistics and Mann-Whitney U test.Finding:1) After receiving the health teaching program before undergoing colonoscopy, 17 persons (77.3%) answered 2 items with the least number of self-practices and 22 persons (100 %) answered 13 items with totally completed number of self- practices. 2) The mean score of self-practice among persons with colorectal cancer risk who received health teaching program were higher than the control group who received conventional nursing care in significantly different at the .05 level.Conclusion: The program has been shown to be effective on improving self-practice before colonoscopy in persons with colorectal cancer risk who were received colonoscopy.(วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่ห้องส่องกล้องทางเดินอาหารโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 44 ราย จับคู่ด้วยเพศ อายุ และระดับการศึกษา เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือทดลองคือ โปรแกรมการให้ความรู้ตามแนวคิดของ Alice เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ได้ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่า Mann-Whitney U testผลการวิจัย:1) บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถปฏิบัติตนภายหลังได้รับโปรแกรม มีจำนวน 2 ข้อ ที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุดจำนวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 77.3 และมีจำนวน 13 ข้อที่ปฏิบัติได้ 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 และ 2) การปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีการปฏิบัติตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติตนก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.1.8

First Page

85

Last Page

97

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.