Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีผู้ดูแลที่เป็น คู่สมรส ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกความจำ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 16 คน ทำการศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ตามแนวคิดของ Ingersoll-Dayton และคณะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาระของผู้ดูแล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\n\nผลการวิจัย: ภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระหว่างได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป\n\nสรุป: โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่สามารถลดภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.3.9
First Page
103
Last Page
115
Recommended Citation
อุดมลาภ, รุ่งนภา and เกศพิชญวัฒนา, จิราพร
(2018)
"ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
3, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.3.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss3/9