Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารกแรกเกิด\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนกลับ\n\nวิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในเขตสุขภาพที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 - 31 พฤษภาคม 2560 จำนวน 344 รายจากแบบบันทึกผู้คลอด ข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ปัจจัยการฝากครรภ์ ปัจจัยผลการคัดกรองทางโลหิตวิทยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์และน้ำหนักทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกแบบกลุ่ม\n\nผลการวิจัย: อายุครรภ์เฉลี่ยที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก คือ 17 สัปดาห์ 5 วัน และจำนวนครั้งที่มาฝากครรภ์เฉลี่ย 8.96 ครั้ง ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ การฝากครรภ์ครั้งแรก (OR= 1.002, 95% CI = 0.017-2.863) จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ (OR = 0.717, 95% CI = 0.588-0.874) ผล Anti-HIV: positive (OR = 30.600, 95% CI = 1.359-698.523) และดัชนีมวลกาย (OR = 5.188, 95% CI = 1.719-15.640) ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักมาก ได้แก่ อายุ (OR = 22.872, 95% CI = 2.008-260.577)\n\nสรุป: ทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์ครั้งแรกและจำนวนครั้งของการฝากครรภ์ด้วยการดูแลที่มีคุณภาพ เพื่อให้การฝากครรภ์คุณภาพบรรลุเป้าหมาย
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.2.5
First Page
54
Last Page
69
Recommended Citation
ด่านกุล, วัชรี; รัตนเสถียร, ลาวัณย์; สารีวงษ์, ทักษพร; เสนสิทธิ์, กิติญา; จันทร์อินทร์, ฐิตาภา; อินตะนัย, พุทธวรรณ; ณ เชียงใหม่, เพียงดาว; ปลื้มใจ, ศันสนีย์; and มาตขาว, สุปรียา
(2018)
"การฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิด: วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบกลุ่ม,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss2/5