Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน \n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง \n\nวิธีการดำเนินการวิจัย : คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 49 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 รายโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม และกลุ่มเปรียบเทียบ 24 รายโดยใช้แผ่นพับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 6 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมและต่อแผ่นพับ และแบบบันทึกรายการอาหารย้อนหลัง 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ปัจจัย แบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย การทดสอบทีคู่และทีอิสระ \n\nผลการวิจัย : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีถึงดีมากทุกด้าน ความ พึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ (หลังทดลองทันทีและหลัง 8 สัปดาห์)การรับรู้ความสามารถของตนเองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน (p >.05) ในทั้งสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ส่วนค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดลอง (p > .05) \n\nสรุป : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม เรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นสื่อที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการให้ความรู้ครั้งต่อไปควรตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายและครอบครัว
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.2.4
First Page
41
Last Page
53
Recommended Citation
พึ่งพงษ์, ปิยะภัทร; กวีวิวิธชัย, จุฬารักษ์; and เปียซื่อ, นพวรรณ
(2018)
"ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักศึกษาพยาบาล,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss2/4