Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb และแรงสนับสนุนทางสังคมของ House กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีภาวะโภชนาการเกินจำนวน 60 คน จาก 2 โรงเรียนๆ ละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก 4 ครั้ง ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการเรียนรู้จากการประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเองและการให้ความรู้ การบันทึกพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจกรรมทางกาย การอภิปรายกลุ่มและสะท้อนความคิด การสรุปแนวทางการควบคุมน้ำหนัก และการปฏิบัติจริงโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน ผู้ปกครอง และครู กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ\n\nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง เด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลอง (d = 3.70, SD =1.36) และมีการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการในระดับอ้วนลดลงจากร้อยละ 46.70 เป็นร้อยละ 30 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป:พยาบาลควรจัดโปรแกรมควบคุมน้ำหนักสำหรับเด็กวัยเรียนโดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและโรงเรียนในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการติดตามประเมินผล
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.2.3
First Page
28
Last Page
40
Recommended Citation
ก้อนทองถม, ธัญลักษณ์วดี; หนูคง, อาภาวรรณ; and แสงเพิ่ม, พรรณรัตน์
(2018)
"ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการทำกิจกรรม ทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss2/3