Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไปที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง จำนวน 40 คน ถูกจับคู่ด้วย เพศ และคะแนนความวิตกกังวล และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความวิตกกังวลขณะปัจจุบัน 3) แบบวัดความวิตกกังวลประจำตัว และ 4) แบบประเมินการหมกมุ่นครุ่นคิด แบบประเมินชุดที่ 2-4 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .87 .88 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลขณะปัจจุบันและประจำตัว ของผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไปในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติมีประสิทธิผลทำให้ความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไปลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.1.3
First Page
23
Last Page
34
Recommended Citation
ครองธรรม, พัชรินทร์; อุทิศ, เพ็ญพักตร์; and สันติเบญจกุล, สมรักษ์
(2018)
"ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของ การเจริญสติต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss1/4