Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2018-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิต\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศที่ค้นหามาด้วยแบบสังคมมิติ จำนวน 306 คน เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับการให้คำปรึกษาปัญหาทางเพศด้วยเครือข่ายออนไลน์ทางโทรศัพท์ และแบบประเมินความมั่นใจการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง โดยแบบประเมินมีความเที่ยง Cronbach's alpha coefficient = 0.91 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test\n\nผลการวิจัย\n1. ความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01\n2. ไม่พบการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ 10 เดือน\n\nสรุป: โปรแกรมมีประโยชน์ต่อนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศในการป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ได้
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.30.1.2
First Page
11
Last Page
22
Recommended Citation
ด่านประดิษฐ์, ประไพวรรณ; คฤหเดช, เปรมวดี; ยิ่งไพบูลย์สุข, อุดมพร; กิตติโชติพาณิชย์, บุญศรี; and สวยสม, ผ่องศรี
(2018)
"ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 30:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.30.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol30/iss1/3