Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) การควบคุมความดันโลหิต 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต\n\nแบบแผนงานวิจัย : การศึกษาแบบบรรยายเชิงทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการบําบัดทดแทนไตมารับบริการที่คลินิกอายุรกรรมและคลินิกโรคไต ที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 120 ราย โดยเก็บข้อมูลจาก 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินเป้าหมายความดันโลหิตและการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .83 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ 3) แบบสอบถามความสม่ําเสมอในการรับประทานยา ฉบับภาษาไทย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติค\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 68.3 ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติคพบว่า ตัวแปรอิสระสามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรการควบคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 10.4 (Nagelkerke R2 = 0.104) ระยะของโรคไตเรื้อรังเป็นปัจจัยทํานายที่มีนัยสําคัญทางสถิติ(OR= 5.98, 95% CI = 1.365, 26.210; p <0.05)\n\nสรุป : ทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญในการประเมินการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต และหาวิธีจัดการให้การควบคุมความดันโลหิตเป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อชะลอความเสื่อมของไต
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.3.6
First Page
54
Last Page
66
Recommended Citation
เบ็ญณรงค์, มลทณา; ศรียุกตศุทธ, อรวมน; เสน่หา, จงจิต; and สถิระพจน์, บัญชา
(2017)
"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคไตเร้ือรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss3/7