Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ (ดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว) และอาการปวดเข่า (คะแนนความปวด) ในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุน้ําหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชมรมผู้สูงอายุ 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในเรื่องสร้างความตระหนัก การตั้งเป้าหมายร่วมกัน และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในการควบคุมน้ําหนัก การออกกําลังกาย การบริหารเข่า และการรวมพลังชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารแลกเปลี่ยน รูปแบบอาหารจานสุขภาพ และวิธีการบริหารข้อเข่าที่ผู้วิจัยจัดทําขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินภาวะโภชนาการ และอาการปวดเข่าในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที ไคสแควร์ และแมนวิทนีย์-ยู\n\nผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีการลดลงของค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (p < .001) เส้นรอบเอว (p < .001) และคะแนนความปวด (p < .001) มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ\n\nสรุป : ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชน โดยส่งเสริมการนําาโปรแกรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุน้ําาหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชุมชน
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.3.2
First Page
8
Last Page
18
Recommended Citation
คำก๋อง, จันทราภรณ์; เปียซื่อ, นพวรรณ; and กิตติพิมพานนท์, กมลรัตน์
(2017)
"ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่ม และชุมชนต่อภาวะโภชนาการและอาการปวดเข่าของ ผู้สูงอายุน้ำหนักเกินที่มีอาการปวดเข่า,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss3/3