Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี \nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยและพัฒนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ ออกแบบการพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรสหสาขาวิชาชีพผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงและญาติผู้ป่วย จํา านวน 60 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพและแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย\n\nผลจากการวิจัย :\n \nระยะที่ 1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 95 นาทีระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ย 6 วัน, การปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยยังไม่ต่อเนื่อง\n\nระยะที่ 2 มีการจัดทีมพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีและออกแบบแนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งมีทั้งหมด 9 หมวด ประกอบด้วย การประเมินผู้ป่วยแรกรับ การพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ การพยาบาลบรรเทาความเจ็บปวด การพยาบาลป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง การรักษาอุณหภูมิร่างกาย การป้องกันการพลัดตกเตียง การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การบันทึกน้ําเข้า-ออก และ การประสานกับแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติ\n\nระยะที่ 3 เมื่อนํารูปแบบการดูแลไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จํานวน 30 คน พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลดลงจากเดิมโดยเฉลี่ย 58 นาที ระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 วัน\n\nระยะที่ 4 การประเมินการพัฒนารูปแบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.87 , SD = 0.34) และระดับความพึงพอใจของญาติอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.93, SD = 0.24) \n\nสรุป : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีครั้งนี้ ทําให้เกิดรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการทํางานร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.3.12
First Page
126
Last Page
138
Recommended Citation
โสภณ, อัญชลี; ชำนาญบริรักษ์, ผดุงศิษฏ์; พรมที, ไพรวัลย์; ยุทธเกษมสันต์, สุรกรานต์; and โพธิ์ไชยแสน, อรไท
(2017)
"การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
3, Article 13.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.3.12
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss3/13