Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลมุ่ ตัวอย่าง คือ กำลังพลกองทัพบก ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 184 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จากคลินิกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ 4) แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามความเพียงพอของทรัพยากรทางสุขภาพ และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .81, .80, .93, 1.00 และ .95 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .76, .80, .76 และ .79 ตามลำดับ โดยแบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจมีค่า KR-20 เท่ากับ .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) กำ.ลังพลกองทัพบกมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับเหมาะสม (x = 73.39, S.D. = 10.52) 2) ความเพียงพอของทรัพยากรทางสุขภาพ (Beta = .316) ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ (Beta = .279) การสนับสนุนทางสังคม (Beta = .219) การทำงานเป็นกะ (Beta = .150) และความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (Beta = .144) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบกได้ร้อยละ 33.2 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านสถานภาพในกองทัพบก และความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกำลังพลกองทัพบกได้\n\nสรุป: ควรส่งเสริมให้กำลังพลกองทัพบกมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยโปรแกรมที่พัฒนาเน้นการใช้ทรัพยากรทางสุขภาพของกองทัพบก เช่น ลานอเนกประสงค์ สถานที่ออกกำลังกาย ร้านค้า สวัสดิการ สวนหย่อม เป็นต้น โดยหน่วยงานควรมีการบำรุง ซ่อมแซม จัดหา ทรัพยากรทางสุขภาพให้ พร้อมใช้งาน และมีอย่างเพียงพอร่วมกับพยาบาลควรจัดทำแผนการให้ความรู้และส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจให้กับกำลังพล ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาควรมีนโยบายให้กำลังพลที่ทำงานกะกลางคืนเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.2.9
First Page
99
Last Page
111
Recommended Citation
ศิริกังวาลกุล, วิภาวรรณ; ทาโต, รัตน์ศิริ; and ผลสุข, ระพิณ
(2017)
"ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss2/9