Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนและปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา มารดาของเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิิดชนิดไม่เขียวที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 82 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบิดามารดาและเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดา แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางด้านข้อมูล และแบบสอบถามความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทีมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .83, .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: บิดามารดามีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของบุตร อยู่ในระดับปานกลาง (x = 96.31, S.D.= 10.80) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Beta=.217, p=.05) เป็นปัจจัยทำนายปัจจัยเดียว ที่สามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้ ร้อยละ 4.7\n\nสรุป: ควรมีการศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กกลุ่มนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะแบบแผนของอาการแสดงโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน และควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่อาจทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.2.7
First Page
76
Last Page
86
Recommended Citation
เลี้ยงพันธุ์, นันท์นภัส; ธีระรังสิกุล, นฤมล; and สนั่นเรืองศักดิ์, ศิริยุพา
(2017)
"ปัจจัยทำ. นายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วย โรคหัวใจพิการแต่กำ. เนิดชนิดไม่เขียว,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss2/7