Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-05-01
Abstract
การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจำนวนมากที่มีอาการนอนไม่หลับ โดยพบว่าผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังส่วนใหญ่จะพบอาการนอนไม่หลับทั้ง 3 อาการคือ อาการเริ่มต้นนอนหลับยาก การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง และอาการตื่นเช้ากว่าปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ มีภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มมากขึ้น และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ อาการนอนไม่หลับยังส่งผลกระทบต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ดังนั้น พยาบาลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยโน้มนำและปัจจัยกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ รวมถึง ปัจจัย ที่ทำให้อ าการนอนไมหลับยังคงอยู่อย่างถาวร เรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินอาการนอนไม่หลับเพื่อให้สามารถประเมินอาการนอนไม่หลับได้อย่างครอบคลุมและเรียนรู้วิธีการจัดการอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยานอนหลับในหลายรูปแบบ เช่น การให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะการนอน การบำบัดทางความคิดรู้ การควบคุมการกระตุ้น การจำกัดการนอน การฝึกการผ่อนคลาย หรือการบำบัดโดยการใช้หลายวิธี ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะทำให้พยาบาลมีความรู้มีความเข้าใจ สามารถประเมินและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมานจากอาการนอนไม่หลับได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.2.3
First Page
29
Last Page
38
Recommended Citation
ฉิมหลวง, จรรยา
(2017)
"อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss2/3