Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย\n\nแบบแผนการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือวิจัย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จำนวน 180 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ที่พัฒนาเป็นภาษาอังกฤษโดย Vachkova, Jezek, Mares และ Moravcova (2013) และแปลเป็นภาษาไทยตามหลักการแปลแบบย้อนกลับ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient)\n\nผลการศึกษา: ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (5 ข้อ) ด้านจิตใจ (2 ข้อ) และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (2 ข้อ) ได้ค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( = 29.17, df = 24, p = .21; /df = 1.22; GFI = .96; AGFI = .93; CFI = .98; RMSEA = .03) โดยรายด้านมีนํ้าหนักองค์ประกอบระหว่าง .46 ถึง .96 และรายข้อมีนํ้าหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .47 ถึง .82 ส่วนผลการตรวจสอบความสอดคล้องภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .75 โดยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ \n\nสรุป: พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขควรนำ.แบบสอบถามนี้ไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในบริบทของสังคมไทย
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.2.11
First Page
124
Last Page
135
Recommended Citation
เตชะศักดิ์ศรี, ตติรัตน์; ศุภสีมานนท์, วรรณทนา; and บุญเนตร, นารีรัตน์
(2017)
"ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
2, Article 11.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.2.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss2/11