Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับ HbA1c > 7.5% ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน-ธัยรอยด์ และระบบฮอร์โมน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จัดให้ทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรค และระดับ HbA1c เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดของ Ryan and Sawin เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test)\n\nผลการวิจัย: \n1) ค่าเฉลี่ยระดับ HbA1c ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) ค่าเฉลี่ยระดับ HbA1c ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุมีการจัดการตนเองที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถลดระดับ HbA1c ได้และลดได้ดีกว่าการพยาบาลตามปกติ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.1.9
First Page
104
Last Page
116
Recommended Citation
สุรวงค์, แสงอรุณ and ชูวรรธนะปกรณ์, ทัศนา
(2017)
"ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
1, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.1.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss1/9