Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนและศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 103 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .74, .80, .79, .85 และ .72 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: 1)พฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมของเด็กวัยเรียนอยู่ในระดับดี (= 113.40,SD = 8.04)2)การรับรู้ความสามารถของตนเองทำนายพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมได้ร้อยละ 15 (R2 =.15,F1,101 = 17.71, p < .001) 3) อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลได้ร้อยละ 8 (R2 = .08,F1,101 = 8.71, p < .001)4) การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้อุปสรรค ร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการได้ร้อยละ 19 (R2 = .19,F1,100 = 7.38, p < .001)และ 5)การรับรู้ความสามารถของตนเองทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายได้ร้อยละ 5(R2 = .05, F1,101 = 5.70, p < .001)\n\nสรุป: ควรจัดโปรแกรมที่ช่วยเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.1.8
First Page
92
Last Page
103
Recommended Citation
ผึ่งผาย, อุทุมพร; สนั่นเรืองศักดิ์, ศิริยุพา; and ธีระรังสิกุล, นฤมล
(2017)
"ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนจังหวัดสิงห์บุรี,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss1/8