Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2017-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใหญ่ที่มีภาวะเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดู่ และหน่วยเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 64 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน ตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .91 และค่าความเที่ยงของการวัดซ้ำเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test\n\nผลการวิจัย:กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนส่งผลให้ผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายดีขึ้นและดีกว่าการคำแนะนำจากหน่วยบริการสุขภาพตามปกติ จึงควรมีการสนับสนุนให้หน่วยบริการปฐมภูมิจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กระตุ้นกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงอย่างต่อเนื่อง
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.29.1.7
First Page
81
Last Page
91
Recommended Citation
ผลาผล, ทองมี; สุวรรณรูป, นันทวัน; and เรืองจิรัษเฐียร, สุพินดา
(2017)
"ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การออกกำลังกายในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 29:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.29.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol29/iss1/7