•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2016-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมทันทีและหลังได้รับโปรแกรม 1 วัน \n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่มารอผู้ป่วยทำผ่าตัดเนื้องอกสมอง หน่วยงานห้องผ่าตัด สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง 20 คนแรกจัดเข้าเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 20 คนหลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลขณะผ่าตัด ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความวิตกกังวล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที \n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลภายหลังได้รับโปรแกรมทันทีของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลภายหลังได้รับโปรแกรม 1 วัน ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน (p > .05)\n\nสรุป: โปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัดสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวขณะรอผู้ป่วยทำผ่าตัดเนื้องอกสมองหลังได้รับโปรแกรมทันที แต่ไม่สามารถลดความวิตกกังวลได้ในระยะหลังผ่าตัด\n\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.28.3.8

First Page

98

Last Page

109

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.