Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2016-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาหรือมารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต ภายใน 3 วันแรก จำนวน 118 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ 3) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย4) แบบสอบถามความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร และ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าสัมปสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2, 3, 5 เท่ากับ .88, .79, และ .89 ตามลำดับ ทดสอบอิทธิพลส่งผ่านด้วยวิธีการของ Baron and Kenny (1986) โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ\n \nผลการวิจัย: ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความวิตกกังวลของบิดามารดา อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษา กับความวิตกกังวลของบิดามารดา\n \nสรุป: พยาบาลควรมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการพยาบาลที่ช่วยลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลให้แก่บิดามารดาได้ \n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.28.3.7
First Page
84
Last Page
97
Recommended Citation
หม้ายพิมาย, มณีรัตน์; พยัคฆเรือง, สุดาภรณ์; and หนูคง, อาภาวรรณ
(2016)
"อิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 28:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.28.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol28/iss3/7