Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2016-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ตามกรอบแนวคิด PRECEDE PROCEED Model\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทำนาย (Predictive research)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุวัยกลางตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 276 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดความรู้ในการดูแลสุขภาพ แบบสอบถามทัศนคติในการดูแลสุขภาพ การรับรู้คุณค่าในตนเอง การดื่มแอลกอฮอล์ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: พบว่า มีตัวแปร 6 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 27.0 โดยตัวแปรการรับรู้คุณค่าในตนเองเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (Beta = .266) รองลงมา คือ การดื่มแอลกอฮอล์ (Beta = - .229) ความรู้ในการดูแลสุขภาพ (Beta = .218) สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย (Beta =.174) ทัศนคติในการดูแลสุขภาพ (Beta =.158) และแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (Beta = .116) ทั้งนี้ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข พบว่า ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้\n\nสรุป: ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นหากมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ มีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ มีการรับรู้คุณค่าในตนเอง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ มีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดี และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำทั้ง 6 ปัจจัยมากำหนดเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุได้\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.28.3.6
First Page
68
Last Page
83
Recommended Citation
โรจน์ไพศาลกิจ, กุลวดี
(2016)
"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 28:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.28.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol28/iss3/6