Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2016-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายทุกชนิด เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน ระดับตติยภูมิ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธตามคู่มือในการดำเนินกิจกรรม โดยดำเนินกิจกรรมทุก 2 วัน ครั้งละ 20-30 นาที รวม 7 ครั้ง เป็นเวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบรายคู่\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณระหว่างดำเนินโปรแกรมการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้ายมีความผาสุกทางจิตวิญญาณมากขึ้น โดยมีความผาสุกทางจิตวิญญาณมากขึ้นตั้งแต่อยู่ระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมฯ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.28.3.3
First Page
31
Last Page
43
Recommended Citation
รัตนิล, ปัณณธร and เกศพิชญวัฒนา, จิราพร
(2016)
"ผลของการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของ ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 28:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.28.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol28/iss3/3