Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2016-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ \n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่แผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง จำนวน 420 ราย คัดเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและการประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบไบซีเรียล\n\nผลการวิจัย: 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และประวัติการเจ็บป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .006) และไขมันสะสมในร่างกาย (p = .021) 3) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .029) และ 4) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการรักษา/การดูแลตนเองเบื้องต้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .024) และความดันโลหิตซิสโทลิค (p = .022) \n\nสรุป: ทีมสุขภาพควรพิจารณาเลือกใช้โมบายแอพพลิเคชั่นสุขภาพเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพให้แก่ผู้ใช้บริการแผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.28.3.12
First Page
147
Last Page
159
Recommended Citation
จันทร์ทองสุข, ปนิตา; เปียซื่อ, นพวรรณ; and กวีวิวิธชัย, จุฬารักษ์
(2016)
"ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 28:
Iss.
3, Article 12.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.28.3.12
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol28/iss3/12