Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2016-09-01
Abstract
การกลับเป็นซ้ำเป็นปัญหาที่พบได้มากในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังแม้ว่าผู้ป่วยจิตเภทจะได้รับการรักษาจนอาการทางจิตสงบแต่ก็ยังเกิดการกลับเป็นซ้ำได้ สถานการณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเกิดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเป็นปัญหาที่สำคัญทำให้เกิดความผิดปกติของสมองและเกิดอาการทางจิตรุนแรงขึ้นได้ง่าย ส่งผลต่อการตอบสนองต่อการรักษาและการฟื้นหาย ก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงและการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกเป็นภาระการดูแลของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งยังทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่นับเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีของประเทศ ดังนั้นการเรียนรู้สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังซึ่งประกอบด้วย การประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำ การตรวจสอบอาการเตือนก่อนการกลับเป็นซ้ำ การพัฒนาแผนการปฏิบัติการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามแผนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการบูรณาการแผนปฏิบัติการป้องกันการกลับเป็นซ้ำสู่ครอบครัวและชุมชน ซึ่งแผนปฏิบัติการในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำดังกล่าวจะส่งผลให้บุคลากรทางสุขภาพและผู้ดูแลมีสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท รวมทั้งการดูแลและฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้และเข้าใจในสถานการณ์และแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ป่วยส่งผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.28.3.1
First Page
1
Last Page
15
Recommended Citation
สถิตยุทธการ, สุดาพร
(2016)
"การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 28:
Iss.
3, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.28.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol28/iss3/1