•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2016-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงสหสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20 - 59 ปี ที่พักในกรุงเทพมหานคร\nจำนวน 120 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังเชิงลบในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังเชิงบวกในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่แอลกอฮอล์ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .85 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มตัวอย่างชายไทยวัยผู้ใหญ่นิยมดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ คิดเป็นร้อยละ 40.70 โดยดื่มนานๆ ครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.33 และดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 1 ขวด คิดเป็น ร้อยละ 40.70 สาเหตุของการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก ส่วนใหญ่ดื่มแอลกอฮอล์เพราะอยากทดลองดื่ม รองลงมา คือ เพื่อนชักชวน คิดเป็นร้อยละ 41.87 และ 33.62 ตามลําดับ บุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ส่วนใหญ่ คือ เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 72.10 และดื่มแอลกอฮอล์เมื่อไปงานสังคม ดื่มในช่วงเทศกาล และ เที่ยวกับเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 38.37\n2. อายุ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และความคาดหวังเชิงลบ ในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -0.18, -0.54, และ -0.35 ตามลําดับ)\n3. ประวัติการมีบุคคลในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ และความคาดหวังเชิงบวกในผลลัพธ์ของ การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.19 และ 0.37)\n\nสรุป: ควรส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และกระตุ้นให้เกิดความ คาดหวังเชิงลบและปรับเปลี่ยนความคาดหวังเชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.28.2.12

First Page

137

Last Page

150

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.