•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2016-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการ\nเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการทบทวนข้อมูลย้อนหลังภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุจากบันทึกทางการพยาบาล และบันทึกอาการ ได้ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อ คือ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติติดสุรา ภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด การได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics ความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ ระดับอิเล็กโตรไลท์ในเลือดไม่สมดุล และระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริตที่ผิดปกติ จากนั้น จึงจัดทำเครื่องมือ ตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ระยะที่ 2 การตรวจสอบแบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุ โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเขตกรุงเทพฯ จำนวน 300 คน\n \nผลการวิจัย: ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุและเครื่องมือมาตรฐานมีความสัมพันธ์กันสูง (r = .84) และมีค่า z = 0.2 และ z1= 0.33 แสดงว่าความสามารถในการทดสอบของเครื่องมือทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกัน ได้ค่าความไวร้อยละ 88.46 - 92.0 ค่าความเฉพาะร้อยละ 100 แสดงว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถค้นหา และคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันได้\n\nสรุป:แบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือที่มีความไวและค่าความเฉพาะที่ดีสามารถคัดกรองภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุได้ \n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.28.1.7

First Page

79

Last Page

89

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.