Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: ศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินทัศนคติ แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และแบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .93, .89 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Binary logistic regression\n\nผลการวิจัย: ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ร้อยละ 17 (Nagelkerke R2 = .170) โดยความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมสามารถทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.199, p = .032)\n \nสรุป: พยาบาลควรมีการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อนำข้อมูลไปใช้วางแผนส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาให้มากขึ้น \n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.3.8
First Page
119
Last Page
129
Recommended Citation
หอมวิเศษวงศา, สุขุมาล; ภิญโญภาสกุล, วันเพ็ญ; and เจริญกิจการ, วิชชุดา
(2015)
"อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
3, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss3/9