Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ประสบอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ประสบอุทกภัย และแบบสอบถามการปรับตัวในภาวะวิกฤตของผู้ประสบอุทกภัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\n \nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.46, SD = 0.44) โดยมีการปรับตัวรายด้าน ทั้ง 2 ด้าน คือ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่และการปรับตัวด้านการพึ่งพาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.53, SD = 0.49; M = 3.40, SD = 0.53)\n \nสรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะวิกฤตสุขภาพจิตของผู้ประสบอุทกภัยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและบริบทพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต่อไป\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.3.7
First Page
105
Last Page
118
Recommended Citation
คงสุวรรณ, วินีกาญจน์; สุทธรังษี, วันดี; and คริสต์รักษา, วิลาวรรณ
(2015)
"การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
3, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss3/8