•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2015-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีการปรับตัวด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี จำนวน 121 คน ที่มารับการรักษาที่คลินิกอายุรกรรมประสาท หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนทางคลินิก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการพึ่งพาตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, 0.94, .94, .97 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 102.47, SD = 3.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หมวดไขมัน อยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 24.64, SD = 4.81) หมวดข้าว-แป้ง-น้ำตาล หมวดเนื้อสัตว์ หมวดผักผลไม้ และหมวดเครื่องปรุงรส อยู่ในระดับดี (x̄ = 14.95, SD = 3.55 , x̄ = 23.70, SD = 4.22 , x̄ = 25.24 , SD = 5.33 และ x̄ = 10.94 , SD = 2.57 ตามลำดับ) และหมวดเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.00 , SD = 1.75)\n2. ภาวะกลืนลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง \n3. ความรุนแรงของโรคและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.20 และr = - .48 ตามลำดับ\n4. สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .42 และr = .28 ตามลำดับ)\n \nสรุป: ควรมีการประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพยาบาลควรส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคที่อยู่ในระดับดีทุกด้าน และรับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.27.3.5

First Page

80

Last Page

92

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.