Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการทดลองสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งหมด 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความเครียด แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และแบบ สอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .80, .80 และ.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและ Binary logistic regression\n\nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.7 มีความชุกในการทดลองสูบบุหรี่ โดยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (AOR = 2.41, 95% CI = 1.02 - 5.70) ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (AOR = 2.62, 95% CI = 1.10 - 6.31) และการถูกเพื่อนชักชวนให้สูบบุหรี่ (AOR = 8.46, 95% CI = 3.46 - 20.68) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเครียด การสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง การสูบบุหรี่ของพี่น้อง การยอมรับการสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท การเข้าถึงบุหรี่ การเข้าถึงสื่อเกี่ยวกับบุหรี่ และการคาดการณ์การสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการทดลองสูบบุหรี่ในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.2.9
First Page
99
Last Page
109
Recommended Citation
จันทร์แก้ว, จิราภรณ์ and หอมสินธุ์, พรนภา
(2015)
"ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss2/9