Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุ 7-12 ปี แบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: 1) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)\n \nสรุป: การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและดีกว่าการดูแลตามปกติ \n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.2.5
First Page
48
Last Page
59
Recommended Citation
สัชชานนท์, พร้อมพรรณ and รอดคำดี, ประนอม
(2015)
"ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss2/5