Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมกับ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดจำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาตามแนวคิดของ Dennis และการสนับสนุนทางสังคมของ House รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .90 และแบบบันทึกการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์ ทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบผสม\n \nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติทั้งวันที่จำหน่ายจากโรงพยาบาล หลังคลอด 6 สัปดาห์ และหลังคลอด 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05, p<.001 และ p<.001 ตามลำดับ) และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวที่หลังคลอด 6 เดือน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)\n\nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิภาพใน การเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.2.4
First Page
34
Last Page
47
Recommended Citation
จินตะเวช, อุษณีย์; สุขเกษม, นภัสนันท์; and ทองสวัสดิ์, เทียมศร
(2015)
"ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมต่อ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและอัตราการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss2/4