Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาแนวคิดที่รู้จำและข้อบ่งชี้ขององค์ประกอบใหม่เกี่ยวกับความเข้าใจด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทีมสุขภาพ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลในการจัดการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 3 กลุ่มๆ 10 คน และกลุ่มทีมสุขภาพ มี 1 กลุ่มจำนวน 4 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 34 คน\n\nผลการวิจัย: สาระ (Theme) จากกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีมี 7 ข้อ คือ 1) การติดเชื้อเอชไอวี 2) การยอมรับของบุคคลใกล้ชิด 3) อาการนำและอาการทรุด 4) ผลการตรวจ CD4 5) การรักษา 6) การรับประทานยาต้านไวรัส และ 7) การดูแลตนเอง ส่วนสาระจากกลุ่มทีมสุขภาพ มี 8 ข้อ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2) ยาคือชีวิต 3) การสร้างสัมพันธภาพ 4) วางแผนให้ความรู้ก่อนจะเริ่มยา 5) สภาพแวดล้อมผู้ป่วยนอก 6) ให้ความรู้และคำปรึกษา 7) ความหวังของผู้ป่วย และ 8) จิตอาสา\n\nสรุป: โดยสรุปผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีข้อมูล มีความรู้ มีความเข้าใจด้านการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี และนำสู่การดูแลรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง แต่ด้านจิตใจรู้สึกว่ายังคงถูกตีตราทางสังคม\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.2.3
First Page
22
Last Page
33
Recommended Citation
ชัยพิบาลสฤษดิ์, พวงทิพย์; สาตจีนพงษ์, ปัญจมาพร; and สุนทรานุรักษ์, ธัญญพัทธ์
(2015)
"ความเข้าใจด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทีมสุขภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss2/3