Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น และหอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการอบรม แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด คู่มือการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(Dependent t-test)\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาล หลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดสูงกว่าก่อนการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบบันทึกที่มีประสิทธิภาพตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.2.10
First Page
110
Last Page
118
Recommended Citation
วัดโคก, กมลทิพย์ and รัชชุกูล, สุชาดา
(2015)
"ประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
2, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.2.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss2/10