•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2015-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ และเปรียบเทียบการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของพยาบาลประจำการระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีกับกลุ่มที่ใช้การดูแลตามปกติ\n \nรูปแบบการวิจัย: แบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 60 คน และพยาบาลประจำการ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปหญิง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการอบรม แผนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และคู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย และแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาล เครื่องมือทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .95 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติที และการทดสอบ Wilcoxon Rank Sum Test\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (x̄ = 4.38) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (x̄ = 3.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .05 2) ค่าเฉลี่ยลำดับที่ของคะแนนการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของพยาบาลประจำการที่ใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (x̄ = 4.74) สูงกว่ากลุ่มที่ใช้การดูแลตามปกติ (x̄ = 4.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีความพึงพอใจในบริการและพยาบาลประจำการมีการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลมากขึ้น\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.27.1.9

First Page

95

Last Page

109

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.