•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2015-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะสุขภาพดี จากการวินิจฉัยของแพทย์ น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม และมารดาทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด คลอดปกติ มีอายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คู่ โดยจับคู่ในด้าน ประสบการณ์การเลี้ยงดูทารกตัวเหลือง การสนับสนุนทางสังคม และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะ ตามแนวคิดการสอนแนะของ Helfer and Wilson (1982) ที่ประกอบด้วยคู่มือแนวทางการดำเนินกิจกรรมการดูแลทารกแรกเกิดในการป้องกันภาวะตัวเหลือง ภาพพลิก และแผนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (Independent t-test)\n\nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอในทารกแรกเกิดครบกำหนดของกลุ่มมารดาที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะสูงกว่ากลุ่มที่มารดาได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)\n\nสรุป: โปรแกรมการสอนแนะเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอในทารกแรกเกิดครบกำหนด\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.27.1.3

First Page

22

Last Page

34

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.