•  
  •  
 

Journal of Nursing Research, Innovation, and Health

Publication Date

2015-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความปวด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด และปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน193 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบากแบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าแบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89, .92, .71, .83, .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่ในระดับสูง (x̄ = 73.01, SD = 15.44) 2) ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แต่ความปวดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -.52) อาการหายใจลำบาก (β = -.28) ความเหนื่อยล้า(β = -.30) และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน (β = -.14)เป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยของมะเร็งปอด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 43 (R2 = .43)\n \nสรุป: องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการดูแลเพื่อจัดการกับกลุ่มอาการและตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น \n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.27.1.11

First Page

120

Last Page

132

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.