Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2015-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกิน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 2 โรงเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วย การประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเอง การอภิปรายกลุ่ม และได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมน้ำหนัก เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .90 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย: 1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกินหลังการได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของกลุ่มนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกินที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจสูงกว่ากลุ่มนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกินที่ดำเนินชีวิตตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจส่งผลให้นักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการมีพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักดีขึ้นและดีกว่านักเรียนหญิงที่ดำเนินชีวิตตามปกติ\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.27.1.10
First Page
110
Last Page
119
Recommended Citation
สีขาว, เพชรลดา and เอื้อกิจ, นรลักขณ์
(2015)
"ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกิน,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 27:
Iss.
1, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.27.1.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol27/iss1/10