Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพและปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทํานาย (Descriptive predictive research)\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 347 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะองค์การ แบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ .89 และ 1.00 ตรวจสอบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งสอง ได้เท่ากับ .93 และ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ\nขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.02, SD = 0.31)\n2) ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ การจัดโครงการสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (β = .366) ประสบการณ์ปฏิบัติงาน (β = .176)\nโรงพยาบาลขนาดเล็ก (β = .133) การนําองค์การและการบริหาร (β = .128) ได้รับการอบรมด้านส่งเสริม สุขภาพ (β = .108) ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (β = .-131) และช่วงอายุ 30-39 ปี (β = .-128) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้ ร้อยละ 22.3 (R² = .223) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05\n \nสรุป: ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ คือ การจัดโครงการสถานที่ทํางาน น่าอยู่น่าทํางาน ประสบการณ์ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลขนาดเล็ก การนําองค์การและการบริหาร ได้รับ การอบรมด้านส่งเสริมสุขภาพ ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และช่วงอายุ 30-39 ปี โดยสามารถทํานายได้ร้อยละ 22.30 ฉะนั้น จึงควรส่งเสริมปัจจัยทํานายเหล่านี้ โดยเฉพาะใน โรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่พยาบาลมีประสบการณ์ทํางานและอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.3.6
First Page
72
Last Page
83
Recommended Citation
บาคาล, ยุวดี and วิวัฒน์วานิช, สุวิณี
(2014)
"ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss3/7