Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 21 คน ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย จํานวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ จากชมรมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟแห่งประเทศไทย จํานวน 11 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับ หัวหน้าแผนกพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 4 คน และอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาล เวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 3 คน วิธีดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ เกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนํามาสร้าง แบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อรายการแต่ละข้อและ ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และส่งแบบสอบถามไปให้ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคําตอบ หลังจากนั้น นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\n ผลการวิจัย: สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประกอบด้วย 7 ด้าน มีจํานวนทั้งหมด 57 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีจํานวน 21 ข้อ 2) ด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนมีจํานวน 7 ข้อ 3) ด้านการสอนและให้คําปรึกษามีจํานวน 5 ข้อ 4) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีจํานวน 5 ข้อ 5) ด้านวิชาการและการวิจัยมีจํานวน 6 ข้อ 6) ด้านการประสานงานและการดูแลอย่างต่อเนื่องมีจํานวน 4 ข้อและ 7) ด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตมีจํานวน 9 ข้อ\n \nสรุป: สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูประกอบด้วยสมรรถนะ 7 ด้าน ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนํามาเป็นแนวทางในการพัฒนา และประเมินพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.3.11
First Page
134
Last Page
145
Recommended Citation
คะสะติ, อนัญญา and ประจุศิลป, กัญญดา
(2014)
"สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
3, Article 12.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.3.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss3/12